เมนู

ปฐวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา



[1117] สกวาที ปฐวีธาตุเป็นสนิททัสสนะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. เป็นไป เป็นรูปายตนะ เป็นไปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น
สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ
มาสู่คลองแห่งจักษุ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1118] ส. ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อาศัยจักษุและปฐมวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1119] ส. อาศัยจักษุและปฐวีธาตุจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. คำว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?
ป. ไม่มี.
ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้
เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หาก คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น
ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิด
จักขุวิญญาณขึ้น.

[1120] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ
ป. ไม่พึงกล่าวว่า อาโปธาตุ เป็นสนิทัสสนะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ท่านเห็นน้ำ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ท่านเห็นน้ำ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
อาโปธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ
ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง
ต้องกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ
ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ
ท่านจึงต้องกล่าวว่า วาโยธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ
ปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา จบ

อรรถกถาปฐมวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา



ว่าด้วย ปฐวีธาตุเป็นต้นเป็นสนิทัสสนะ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ คือเป็นของเห็นได้ด้วย
มังสจักขุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ
ทั้งหลายว่า ปฐวีธาตุ เป็นต้น คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
เป็นของเห็นได้ด้วยตา เพราะเห็นวัณณายตนะ คือสี แห่งการไหวของ
แผ่นหิน น้ำ เปลวไฟ ต้นไม้ นั่นเทียวด้วย คือเรื่องปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งโอกาส
อันตั้งอยู่เฉพาะแห่งอินทรีย์ 5 คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ ด้วย
คือเรื่องจักขุนทรีย์ ฯลฯ เห็นรูปมีมือและเท้าเป็นต้น ในเวลาเคลื่อนไหว
กายด้วย คือเรื่องกายกรรม ฯลฯ บรรดาเรื่องทั้งหมด ทั้ง 3 เรื่อง คำถาม
ต้นของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ
ในที่ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองแห่งพระบาลี และพึงทราบโดยนัย
ที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. เรื่องสุดท้ายว่า กายกรรมไม่เป็นสนิทัสสนะ
คือไม่เป็นของเห็นได้ด้วยตา ท่านทำเรื่อง ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ
ไว้เป็นข้อแรก.
อรรถกถาปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา จบ